A : Charles Babbage
ชาลส์ แบบบิจ : Charles Babbage
เกิดปี ค.ศ. 1791 (พ.ศ. 2334)
ที่อังกฤษ ในครอบครัวของนายธนาคาร
แบบบิจเติบโตมาในยุคที่อังกฤษเป็นมหาอำนาจ และกำลังอยู่ในช่วงการปฏิวัติอุตสาหกรรม โดยรัฐบาลสนับสนุนให้ทุนการพัฒนาในสาขาต่าง
ๆ อย่างเต็มที่. แบบบิจศึกษาระดับมหาวิทยาลัยที่ ทรินิตี้
คอลเลจมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ที่คณะคณิตศาสตร์ (Mathematical
Laboratory)
ช่วงเป็นนักศึกษา เขารวมกลุ่มกับเพื่อน ทำ induction
of the Leibnitz notation for the Calculus ขึ้นจนมีชื่อเสียง
ทำให้มหาวิทยาลัยต้องเปลี่ยนหลักสูตรการเรียนการสอน. พอเรียนจบ
แบบบิจก็ตัดสินใจเป็นอาจารย์ต่อที่คณะ. ในปี ค.ศ. 1814,
แบบบิจสมรสกับ
Geogiana Whitmore นักคณิตศาสตร์หญิงคนเก่งคนหนึ่งในยุคนั้น
ในทางคณิตศาสตร์ แบบบิจเน้นศึกษาด้านแคลคูลัสเป็นพิเศษ
ปี ค.ศ. 1816 ได้รับการแต่งตั้งให้เป็น Fellow ของ Royal
Society ปี ค.ศ. 1820 เขาตั้งชมรมด้านดาราศาสตร์ขึ้น พร้อม ๆ
กับเริ่มทำงานวิจัยสำคัญของเขาในยุคต้น ที่ทำให้เขาโด่งดังมากคือ Difference
Engine (ใช้ Newton's method of successive differences) ในปี ค.ศ. 1828 แบบบิจได้รับแต่งตั้งให้เป็น
the Lucasian Chair of Mathematics at Cambridge (เหมือนกับ เซอร์ ไอแซก
นิวตัน และ สตีเฟ่น ฮอว์คิง) ต่อมา แบบบิจขยายงานมาศึกษาเครื่องวิเคราะห์ (Analytical
Engine) เพื่อสร้างเป็น เครื่องจักรที่สามารถรองรับการคำนวณทุกชนิด
(ซึ่งได้รับการยอมรับว่าเป็นต้นแบบของเครื่องคอมพิวเตอร์)
แต่ก็เป็นเพียงทฤษฎีเท่านั้น เพราะเขาไม่สามารถสร้างออกมาในช่วงที่เขามีชีวิตอยู่
เนื่องจากมีคนไม่เห็นด้วยมากมาย
เพราะความคิดของเขาทันสมัยเกินกว่าเทคโนโลยีในยุคนั้น จนทุก ๆ
คนคิดว่ามันเป็นไปไม่ได้ จึงโดนตัดงบวิจัยในปี ค.ศ. 1832 แต่แบบบิจก็ฝืนทำต่อแบบไม่มีงบประมาณ
จนทำไม่ไหว จนต้องปิดโครงการนี้ไป ในปี ค.ศ. 1842
พอปี ค.ศ. 1856,
แบบบิจก็เริ่มมีฐานะขึ้นมาจากงานอื่นๆ
เพราะนอกจากเป็นนักคณิตศาสตร์แล้ว เค้าก็ยังเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านดนตรี การเมือง และเศรษฐกิจ อีกด้วย (เป็น
a Celebrated Policial Economist แห่งยุค)
เขาจึงเอาเงินทุนมาลงทุนทำวิจัยด้านเครื่องวิเคราะห์ต่อ
แต่ก็ต้องทำและแก้หลายครั้ง จนเขาเสียชีวิตไปในปี ค.ศ. 1871(แล้วลูกชายเขามาสานต่อ)
ช่วงก่อนตาย เขาเขียนหนังสือชื่อดัง (ดังยุคหลัง) ชื่อ Passages from
the life of a Philosopher เพราะในปีที่เขาเสียชีวิต โลกยังไม่ค่อยรู้จักเขา
เครื่องวิเคราะห์ของเขาไม่มีคนสนใจลงมือสร้างเป็นชิ้นเป็นอัน จนกระทั่งอีกประมาณ 40
ปีต่อมา
หลังจากเขาตาย มีคนเอางานเขาไปเผยแพร่จนเป็นที่ชื่นชม แล้วคนยุคหลังก็นำสมองของเขา
(ที่ดองเอาไว้ในแอลกอฮอล์) มาผ่าเพื่อศึกษาความสามารถในการคิดของเขา
(ถูกนิยามไว้ว่าเป็น one of the most profound thinker of the century)
ตลอดเวลาที่มีชีวิตอยู่ แบบบิจเชื่อว่า
โลกเรานี้สามารถวิเคราะห์ทำนายได้ (a world where all things were
dutifully quantified and could be predicted) โดยได้รับความสนับสนุนจาก Laplace ซึ่งเป็นเพื่อนสนิทในวงการว่า
ถ้าจิตใจมนุษย์สามารถเข้าใจพฤติกรรมของอนุภาคเล็กๆ มันจะอธิบายทุกอย่างได้ (if
a mind could know everything about particle behavior, if could describe
everything: nothing would be uncertain, and the future, as the past, could be
present to our eyes) ปี ค.ศ. 1856, แบบบิจเสนองาน "Table of Constants
of the Nature and Art" ที่อ้างว่า รวบรวมข้อเท็จจริงทุกอย่าง
สำหรับอธิบายศาสตร์ทางวิทย์และศิลป์ ด้วยตัวเลข
แบบบิจชอบไฟมาก ขนาดลองเอาเตาอบมาอบตัวเองเล่นที่
265 องศาฟาเรนไฮต์เป็นเวลา 5-6 นาที หรือพยายามปีนภูเขาไฟเวซูเวียส
เพื่อที่จะไปดูลาวาเดือด ๆ
B : Lady Augusta Ada Byron
เอดา
ไบรอน เลิฟเลซ (Lady
Augusta Ada Byron, Countess of Lovelace)
เขาเป็นลูกสาวของลอร์ด
ไบรอน (Lord
Byron) เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2358 (ค.ศ. 1815) และพ่อแม่ของ Ada Lovelace ก็ต้องแยกทางกัน
แม่เขาเลี้ยง Ada Lovelace แบบหญิงสมัยใหม่และให้ Ada
Lovelace ศึกษาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์
ซึ้งไม่เหมือนกับหญิงทั่วๆไปจากตระกูลอื่นๆ ที่ประเทศอังกฤษพอ Ada
Lovelace อายุได้ประมาณ 17 ปี เขาได้รู้จักกับ Mrs. Somerville แห่งเคมบริดจ์
ผู้หญิงเก่งแห่งยุค ที่เคยแปลงานของ Laplace มาเป็นภาษาอังกฤษ
และสุดท้ายก็ได้รู้จักกับ ชาลส์ แบบบิจ ในงานสังสรรค์แห่งหนึ่ง
ในงานวันนั้น แบบบิจกล่าวว่า "what if a calculating engine could not
only foresee but could act on that foresight" (จะเป็นอย่างไร
ถ้าหากเครื่องคำนวณไม่เพียงสามารถหยั่งรู้ได้
หากแต่สามารถตอบสนองต่อการหยั่งรู้นั้นได้ด้วย) ไม่มีใครสนใจแนวคิดนี้เลย ยกเว้น Ada
Lovelace และเธอสนใจในงานนี้มาก
และได้ช่วยพัฒนาเคื่องวิเคราะห์ของแบบบิจและหลังจากนั้น Ada Lovelace ได้แต่งงานกับ เอิร์ลแห่ง เลิฟเลซ
และมีบุตรด้วยกันสามคน
ต่อมา
แผนการทำงานของแบบบิจที่เขียนขึ้นมาชิ้นนั้น
ก็ได้ถูกยกย่องว่าเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ตัวแรกของโลก Ada Lovelace จึงได้รับการยกย่องว่าเป็นโปรแกรมเมอร์คนแรกของโลก เอดาก็ช่วยเขียนบรรยาย รายละเอียดการทำงานของเครื่องวิเคราะห์ แต่ Ada Lovelace สุขภาพไม่ค่อยดี และสุดท้ายก็เสียชีวิตด้วยวัยเพียง 36 ปีเท่านั้น
ที่เมือง Marylebone, London อังกฤษ
C : Hermn Hollerith
ดร.เฮอร์แมน ฮอลเลอริช (Dr.Herman Hollerith)
ในปี พศ. 2493 ดร.เฮอร์แมน ฮอลเลอริช นักประดิษฐ์ชาวอเมริกิน
ได้ประดิษฐ์เครื่องประมวลผลทางสถิติ ที่เรียกว่า Tabulating Machine ซึ้งเครื่องนี้ได้นำมาใช้กับบัตรเจาะรู
และนำมาใช้กับงานประมาลข้อมูลสำมะโนประชากร ในประเทศสหรัฐอเมริกา ต่อมา
ดร.เฮอร์แมน ฮอลเลอริช ได้นำเอาหลักการของ Jacquard มาดัดแปลงให้เข้ากับบัตร์ที่ตนเองผลิตขึ้น
บัตรนี้เรียกว่า "บัตรฮอลเลอริธ"
ซึ่งถือเป็นรหัสภายนอกเครื่องคอมพิวเตอร์ บัตรเจาะของดร.เฮร์แมน ฮอลเลอริช
ได้พัฒนามาจนถึงปัจจุบัน ที่เรียกว่า บัตรไอบีเอ็ม (IBM. Card) หรอ บัตร 80 คอลัมน์
( IBM. Card )
D : Konrad Zuse
ในปี
พ.ศ.2489
ทัวริงคิดโครงการ เครื่องคำนวณ (computation machine) ที่สามารถเปลี่ยนได้ ตามใจชอบ จาก numerical work เป็น
algebra เป็น code breaking เป็น file
handling หรือแม้กระทั่งเกมส์ ปี พ.ศ.2517 ทัวริง
เสนอว่าต้องมีระบบจัดเก็บข้อมูล และชุดคำสั่งคอมพิวเตอร์ ต้องขยายตัว
เป็นชุดคำสั่งย่อยๆ โดยใช้รูปย่อแบบ รหัสย่อ (ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้น ของภาษาโปรแกรม)
แต่ไม่ได้รับการสนับสนุน เขาจึงพักงาน ด้านคณิตศาสตร์ ไม่ทำงานด้านเทคโนโลยี
แต่เปลี่ยนไปสนใจเรื่อง”neurology” กับ “physiology sciences”
และออกบทความเรื่อง "เครือข่ายประสาท"
ต่อ
มาทีมงานเก่าของทัวริง ที่ย้ายไปอยู่ ที่มหาวิทยาลัย แมนเชสเตอร์ ได้เชิญเขาไปเป็น
หัวหน้าภาควิชาใหม่ โดยเน้นงาน ด้านซอฟแวร์ พร้อมกับออกบทความ วิชาการเรื่อง
"Computer
Machine and Intelligence" ซึ่งนับว่า เป็นรากฐาน
ของแนวคิดพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ ในวงการคอมพิวเตอร์ และในปี พ.ศ.2494 ทัวริงออกบทความเรื่อง "The Chemical Basis of
Morphogenesis"
โดยผลงานเด่นๆ
ของเขา เช่น การคิดโมเดล ที่สามารถทำงานได้ เทียบเท่ากับคอมพิวเตอร์
ซึ่งใช้คำสั่งพื้นฐานง่ายๆ เพียง เดินหน้า ถอยหลัง เขียนและลบ รวมทั้งรูปแบบ
ที่เป็นทางการคณิตศาสตร์ ของการระบุอัลกอริทึมและการคำนวณ ด้วยเครื่องจักรทัวริง
E : Konrad Zuse
Zuse
สร้างคอมพิวเตอร์ Z1เสร็จเครื่องใน 1,938. มันเป็นกลทั้งหมดมีหน่วยคำนวณประกอบด้วยจำนวนมากสวิตช์เครื่องกลและหน่วยความจำประกอบด้วยชั้นของแถบโลหะระหว่างชั้นของกระจก.
หนึ่งในคุณสมบัติใหม่ที่สุดของมันแล้วว่าจะเป็นโปรแกรมโดยเทป punched. เหตุผลหลักว่าทำไม Zuse ประสบความสำเร็จในการสร้างคอมพิวเตอร์กลของเขาที่
Babbage ได้ล้มเหลวคือความจริงที่ Z1 Zuse ของเป็นเครื่อง binary สองตำแหน่งสวิทช์เพื่อแสดง 0
และ 1. แต่กล่าว Zuse ที่ประสบความสำเร็จกับ
Z1 เป็นบิตของการพูดเกินจริงสำหรับเครื่องไม่ได้ดี.
หน่วยความจำที่มีคุณสมบัติสำเร็จวิธีการที่คำสั่งถูกส่งผ่านเชื่อมโยงกลไม่สำเร็จ.
F : Prof. Howard H.Aiken
โฮเวิร์ด เอช ไอเคน (Professor Howard H. Aiken) ศาสตราจารย์ทางคณิตศาสตร์
แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Harvard) เป็นผู้ออกแบบและสร้างเครื่องคำนวณตามหลักการของแบบเบจได้สำเร็จ
โดยนำเอาแนวคิดของ Jacquard และ Hollerith มาใช้ในการสร้างและได้รับการสนับสนุนจากวิศวกรของบริษัทไอบีเอ็ม
สร้างสำเร็จในปี ค.ศ. 1943 ในชื่อว่า Automatic
Sequence Controlled Calculator (ASCC) หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่า MARK
I Computer นับเป็นเครื่องคำนวณเครื่องแรกของโลกที่ทำงานโดยอัตโนมัติทั้งเครื่อง
จัดเป็น Digital Computer และเป็นเครื่องที่ทำงานแบบ Electromechanical
คือเป็นแบบ กึ่งไฟฟ้ากึ่งจักรกล
การส่งคำสั่งและข้อมูลเข้าไปในเครื่อง
ใช้เทปกระดาษเจาะรู เครื่องมีขนาดใหญ่มาก ประกอบด้วยชิ้นส่วนต่าง ๆ ประมาณ 7
แสนชิ้น ใช้สายไฟยาวกว่า 500 ไมล์
ความยาวเครื่อง 55 ฟุต สูง 8 ฟุต กว้าง
3.5 ฟุต
ใช้เวลาในการบวกหรือลบประมาณ
1/3 วินาที การคูณ 5 วินาที การหาร 16
วินาที นับว่าช้ามากถ้าเทียบกับปัจจุบัน เครื่อง MARK I ถูกนำมาใช้ทำงานตลอดวันตลอดคืนนานถึง 15 ปีเต็ม MARK
I ยังไม่ใช่เครื่องคอมพิวเตอร์ตามแนวความคิดในปัจจุบันอย่างแท้จริง
เป็นเพียงเครื่องคิดเลขไฟฟ้าขนาดใหญ่เท่านั้น
แต่ถือว่าเป็นสิ่งที่น่าภูมิใจในขณะนั้น
G : Dr. John V. Atanasoff & Clifford Berry
เครื่อง ABC
(Atanasoff – Berry – Computer) ในปี ค.ศ.1942 ดร.จอห์น วี
อตานาซอฟฟ์ ( John V. Atanasoff) อาจารย์สาขาฟิสิกส์แห่งมหาวิทยาลัยไอโอวา
( Iowa State University) ได้ร่วมมือกับลูกศิษย์ของเขาคือ
คลิฟฟอร์ด เบอร์รี่ (Clifford Berry) สร้างเครื่องมือที่อาศัยการทำงานของหลอดสุญญากาศเพื่อนำมาช่วยในงานประมวลผลทั่วไป
โดยเรียกเครื่องคอมพิวเตอร์นี้ว่า เครื่อง “ABC” (เป็นการตั้งชื่อโดยนำเอาชื่อของทั้งสองมารวมกันคือ
Atanasoff และ Berry)
H : Dr. John W. Mauchiy & J. Presper Eckert
ในปี 1944 John von Neumann ได้รับการชักชวนเข้าร่วมโครงการ ENIAC ระยะเวลาดังกล่าว
กลุ่มนักวิจัยที่ทำงานได้มีการพูดคุยถึง วิธีการปรับปรุงการเขียน และบรรจุ
โปรแกรมเข้าไปในเครื่อง และถึงแนวคิดของ Store Program จากการปรึกษาดังกล่าว
John von Neumann ได้นำความคิดดังกล่าวมาตกผลึก
และเขียนบันทึก แนวคิดของ Store Program เรียกว่า EDVAC
(Electronic Discrete Variable Automatic Computer) จากนั้น Herman
Goldstine ได้แจกจ่ายบันทึกดังกล่าวโดยมีชื่อของ John von
Neumann เพียงชื่อเดียว มิได้ใส่ชื่อของ J. Presper Eckert และ John Mauchly ที่มีส่วนหลักในการทำงานด้วย
บันทึกดังกล่าวเป็นที่มาของคำว่า von Neumann Computer ผู้บุกเบิกในสายของวิชาการคอมพิวเตอร์เป็นจำนวนมากเห็นว่าการแจกจ่ายบันทึกดังกล่าว
ที่ทำให้เกิดความเข้าใจเรื่องคำว่า ``von Neumann Computer'' เป็นการให้เกียรติ J. Presper Eckert และ John Mauchly ที่เป็นวิศวกรที่เป็นส่วนหลักในโครงการ
ENIAC น้อยเกินไป และเป็นการให้เกียรติ John von
Neumann มากเกินไป
I : Dr. John Von Neumann
พ.ศ. 2492 Dr. John Von Neumann ได้พบวิธีการเก็บโปรแกรมไว้ในหน่วยความจำของเครื่องได้สำเร็จ
เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ถุฏพัฒนาขึ้นตามแนวคิดนี้ได้แก่ EDVAC (Electronic
Discrete Variable Automatic Computer) และนำมาใช้งานจริงในปี 2494
และในเวลาเดียวกันมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ก็ได้มีการสร้างคอมพิวเตอร์ในลักษณะคล้ายกับเครื่อง
EDVAC นี้ และให้ชื่อว่า EDSAC (Electronic Delay
Strorage Automatic Calculator) มีลักษณะการทำงานเหมือนกับ EDVAC
คือเก็บโปรแกรมไว้ในหน่วยความจำ แต่มีลักษณะพิเศษที่แตกต่างออกไปคือ
ใช้เทปแม่เหล็กในการบันทึกข้อมูลต่อมา ศาสตราจารย์แอคเคิทและมอชลี
ได้ร่วมมือกันสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์อีก ชื่อว่า UNIVAC I (Universal
Automatic Calculator) ซึ่งผลิตขึ้นมาเพื่อขายหรือเช่า
เป็นเครื่องแรกที่ออกสู่ตลาดซึ่งทำให้คอมพิวเตอร์ขยายตัวออกไปในภาคเอกชน
และเริ่มมีการซื้อขายคอมพิวเตอร์เพื่อใช้งานกันอย่างแพร่หลาย
และวิวัฒนาการเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
J : Dr. Ted Hoff
ดร. เท็ด ฮอฟฟ์ (Ted Hoff) แห่งบริษัทอินเทล (Intel
Corporation) ได้พัฒนาชิพที่มีขนาดเล็กมาก จึงได้ชื่อว่าไมโครโพรเซสเซอร์ ชื่อรุ่นคือ Intel 4004 เป็นหน่วยประมวลผลขนาดเล็กที่สามารถโปรแกรมได้
คอมพิวเตอร์ที่ใช้ชิพขนาดเล็กนี้เจึงถูกรียกว่าไมโครคอมพิวเตอร์ด้วย
K : Steve Jobs & Steve Wazniak
ปี
1970 วอซเนียกได้รู้จักกับสตีฟ
จ๊อบส์ เนื่องจากมีงานฤดูร้อนในธุรกิจเดียวกัน และกลายเป็นเพื่อนกันในที่สุด
จ๊อบส์และวอซเนียกได้ขาทรัพย์สินบางส่วนได้เงินประมาณ 1,300 เหรียญ
และได้ร่วมกันประกอบคอมพิวเตอร์ต้นแบบซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นของแอปเปิ้ล
1 เมษายน 1976 จ๊อบส์และวอซเนียกก็ได้ก่อตั้ง Apple
Computer โดยที่วอซเนียกได้ลาออกจากงานของเขาที่ Hewlett-Packard
และทำงานในแผนกการวิจัยและการพัฒนาที่แอปเปิ้ล
ผลิตภัณฑ์แรกของพวกเขาคือให้
คอมพิวเตอร์ Apple I ในยุคที่คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลส่วนใหญ่จะใช้ในเชิงพาณิชย์
โดยจ๊อบส์และว๊อซเนียกได้ขายคอมพิวเตอร์ 100 เครื่องแรกให้กับ
Paul Terrell ในการเปิดร้านคอมพิวเตอร์ใหม่ที่มีชื่อว่า Byte
Shop ในเมาน์เทนวิว รัฐแคลิฟอร์เนีย
ปี 1980 แอปเปิ้ลเป็นที่โด่งดังและทำให้จ๊อบส์และวอซเนียกกลายเป็นมหาเศรษฐี
โดยสตีฟ จ๊อบส์ได้อนุญาตที่จะให้พนักงานบางส่วนของได้ซื้อหุ้นของ Apple ดั้งนั้นวอซเนียกจึงตัดสินใจที่จะแบ่งหุ้นส่วนหนึ่งของตนออกไป
ปี 1983 เขาตัดสินใจกลับไปพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้กับแอปเปิ้ล
แต่เขาไม่ต้องการบทบาทในบริษัทฯมากไปกว่าของวิศวกรคอมพิวเตอร์
วอซเนียกได้สิ้นสุดการเป็นพนักงานจ้างเต็มเวลากับ Apple ในวันที่ 6กุมภาพันธ์ 1987 เป็นเวลากว่า
12 ปีหลังจากการก่อตั้งบริษัท แต่ถึงกระนั้นเขาก็ยังเป็นผู้ถือหุ้นและกรรมการบริหารบริษัท
L : Bill Gates
วิลเลียม
เฮนรี เกตส์ ที่สาม (เกิด 28
ตุลาคม ค.ศ. 1955) หรือที่มักเป็นที่รู้จักในชื่อ บิล เกตส์เป็นนักธุรกิจชาวอเมริกัน และหนึ่งในผู้ก่อตั้งบริษัทไมโครซอฟท์
เขากับผู้บุกเบิกด้านคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลคนอื่น ๆ ได้ร่วมกันเขียนต้นแบบของภาษาอัลแตร์เบสิก ซึ่งเป็นอินเตอร์เพรเตอร์สำหรับเครื่องอัลแตร์ 8800 (เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในยุคแรกๆ) เขาได้ร่วมกับพอล แอลเลน ก่อตั้งไมโครซอฟท์ คอร์ปอเรชันขึ้น ซึ่งในขณะนี้เขาดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการบริหาร และหัวหน้าสถาปนิกซอฟต์แวร์ นิตยสารฟอบส์ได้จัดอันดับให้
บิล เกตส์ เป็นบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดในโลกหลายปีติดต่อกัน